12 มิถุนายน 2540

งบการเงินสำหรับไตรมาสที่ 3

รายงานการสอบทานงบการเงินระหว่างกาล กองทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ สำหรับไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2540 และ 2539 รายงานการสอบทานงบการเงิน เสนอ คณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ออมสิน จำกัด ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 30 เมษายน 2540 และ 2539 และงบกำไร ขาดทุน สำหรับระยะเวลา 3 เดือน และ 9 เดือน สิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวด ของกอง ทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูล ทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่ง การสอบทานนี้ มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อ แสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบ ทานได้ ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลนี้ ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกลาวข้างต้น (นายสุพจน์ สิงห์เสน่ห์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 2826 บริษัท สำนักงาน พีทมาร์วิค สุธี จำกัด กรุงเทพฯ 15 พฤษภาคม 2540 กองทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ งบดุล ณ วันที่ 30 เมษายน (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) (หน่วย : พันบาท) 2540 2539 สินทรัพย์ เงินฝากธนาคาร 43,844 12,347 เงินลงทุน (หมายเหตุ 2) ตั๋วสัญญาใช้เงินสถาบันการเงิน 956,000 185,000 หลักทรัพย์จดทะเบียน 209,627 1,641,865 หลักทรัพย์อื่น 5,500 5,500 รวมเงินลงทุน 1,171,127 1,832,365 ลูกหนี้จากการขายหลักทรัพย์ 18,961 - ดอกเบี้ยและเงินปันผลค้างรับ 16,590 9,507 สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 2) 3,802 15,691 รวมสินทรัพย์ 1,254,324 1,869,910 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน หนี้สิน เจ้าหนี้จากการซื้อหลักทรัพย์ - 36,664 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 1,434 2,141 รวมหนี้สิน 1,434 38,805 ส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน หน่วยลงทุนออกจำหน่าย 150,000,000 หน่วย 1,500,000 1,500,000 มูลค่าหน่วยละ 10 บาท ชำระเต็มมูลค่าแล้ว 1,500,000 1,500,000 ขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดของหลักทรัพย์ในความ ต้องการของตลาด-ไม่หมุนเวียน (115,735) - กำไร(ขาดทุน)สะสม สำรองตามกฎหมาย 90,755 79,479 ยังไม่ได้จัดสรร (222,130) 251,626 รวมส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน 1,252,890 1,831,105 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน 1,254,324 1,869,910 นายวิบูลย์ อังสนันท์ ม.ล. ผกาแก้ว บุญเลี้ยง ประธานกรรมการ กรรมการผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน กองทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ งบกำไรขาดทุน (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) (หน่วย : พันบาท) ระยะเวลา 3 เดือน ระยะเวลา 9 เดือน เว้นแต่กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วยลงทุน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2540 2539 2540 2539 รายได้ (หมายเหตุ 2) เงินปันผลรับ 7,620 21,549 17,485 33,172 ดอกเบี้ยรับ 23,229 3,470 51,223 10,672 รวมรายได้ 30,849 25,019 68,708 43,844 ค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 2) ขาดทุน(กำไร)จากการค้าหลักทรัพย์ 245,521 (957) 506,233 (167,460) ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายตัดจ่าย 1,897 1,919 5,820 5,842 ค่าธรรมเนียมการจัดการ 3,279 5,271 11,086 16,110 ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ 383 616 1,295 1,882 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 1,770 1,642 7,014 7,210 รวมค่าใช้จ่าย 252,850 8,491 531,448 (136,416) กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (222,001) 16,528 (462,740) 180,260 กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วยลงทุน (บาท) (หมายเหตุ 2) (1.49) 0.11 (3.09) 1.20 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน กองทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ หมายเหตุประกอบงบการเงิน 30 เมษายน 2540 และ 2539 (ยังไม่ได้ตรวจสอบ) หมายเหตุ 1 - ลักษณะของกองทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ กองทุนรวมออมสินเพิ่มพูนทรัพย์ เป็นกองทุนประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนก่อน สิ้นอายุกองทุนรวม มีอายุโครงการ 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2535 และจะครบ กำหนดในวันที่ 16 สิงหาคม 2540 จัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ออมสิน จำกัด ซึ่งมีนโยบายลงทุนใน หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นทุน หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หมายเหตุ 2 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย กำไรขาดทุนจากการค้าหลักทรัพย์บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย ณ วันที่ตกลงซื้อขาย ดอกเบี้ยรับบันทึกเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลบันทึกเป็นรายได้นับแต่วันที่มีสิทธิจะได้รับ ค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง เงินลงทุน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดได้รวมสิทธิการจองซื้อหุ้นโดยถือเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนแสดงตามราคาทุน หรือราคาตลาด แล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า หากมี ผลขาดทุนจากการประเมินราคาหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว จะนำไปหักจากส่วนของผู้ถือ หน่วยลงทุน ราคาทุนของหลักทรัพย์ที่จำหน่ายใช้วิธีถัวเฉลี่ย เงินลงทุนในหลักทรัพย์อื่นประเภทหุ้นสามัญแสดงในราคาทุน ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้ง กองทุน และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัดจำหน่ายโดยวิธีเส้นตรง ภายใน 5 ปี ตาม อายุโครงการ กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วยลงทุน กำไร(ขาดทุน)ต่อหน่วยลงทุนคำนวณโดยการหารกำไร(ขาดทุน)สุทธิประจำงวดด้วยจำนวน หน่วยลงทุนที่ได้ออกจำหน่ายแล้ว หมายเหตุ 3 - การจ่ายเงินปันผล ที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6/2539 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2539 มีมติให้จ่ายเงินปันผล ในอัตราหน่วยละ 0.30 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 45 ล้านบาท ที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2/2539 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539 มีมติให้จ่ายเงินปัน ผลในอัตรา หน่วยละ 1 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 150 ล้านบาท ที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5/2538 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2538 มีมติให้จ่ายเงินปันผล ในอัตราหน่วยละ 1.50 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 225 ล้านบ